ศิลาจารึก ในประเทศไทย ความเป็นมา และวิวัฒนาการ

ศิลาจารึก ถือเป็นเอกสารโบราณอย่างหนึ่งที่บรรพชนสร้างขึ้นโดยมีรูปทรง และขนาดแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และความชำนาญของผู้สร้าง ไม่ว่าจะเป็นรูปเสมา เสาแปดเหลี่ยม และเสาสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีการจารึกกับส่วนต่าง ๆ ศาสนสถาน รวมไปถึงตามสถานที่ธรรมชาติ เช่น ผนังถ้ำ และหน้าผา เป็นต้น โดยบางชิ้นมีอายุนับร้อยปีขึ้น บางชิ้นมีอายุมากกว่าพันปีก็มี

ในอดีตใครเป็นผู้สร้าง ศิลาจารึก

ผู้สร้างเนื้อหาบนศิลาส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นปกครอง เช่น กษัตริย์ เจ้าเมือง หัวหน้าหมู่บ้าน หรือบุคคลสำคัญในท้องถิ่น โดยจะทำการจารึกเมื่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นโดยอาจจะมีพิธีกรรมซักสิทธิ์ตามความเชื่อในยุคนั้น ๆ และเป็นการบอกจุดประสงค์การกระทำของตนให้คนทั่วไปได้รับรู้ แต่ก็มีอยู่บ้างที่จารึกเพื่อเล่าถึงประวัติส่วนตัว และเรื่องอื่น ๆ ดังนั้นเนื้อหาในศิลาจึงเป็นข้อเท็จจริงทุกอย่าง ตามเหตุการณ์ในยุคสมัยต่าง ๆ

ศิลาจารึก ที่พบในประเทศไทย

ศิลาที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกค้นพบในประเทศไทย คือ จารึกเขาน้อย พบที่เขาน้อย อ. อรัญประเทศ จ. ปราจีนบุรี โดยมีหลักฐานศักราชปรากฏบ่งบอกว่าสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1180 โดยจารึกส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้อักษรแตกต่างกันออกไป เช่น อักษรปัลลวะ อักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ เป็นต้น

ในส่วนจารึกที่คนไทยเป็นผู้สร้างตอนก่อตั้งกรุงสุโขทัยปรากฏหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ได้คิดค้น “ลายสือไทย” (ตัวหนังสือไทย) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 1826 ซึ่งถือว่าเป็นจารึกอักษรไทยที่เก่าที่สุด โดยจารึกอื่น ๆ ที่พบเป็นตัวหนังสือไทยล้วนมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมาทั้งสิ้น นั่นจึงเป็นข้อสรุปได้ว่าอักษรไทยสมัยสุโขทัยได้เป็นต้นแบบอักษรไทยทั่วไปจนมาถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการอักษร ของพ่อขุนรามคำแหงบน ศิลาจารึก ต่าง ๆ ที่ถูกค้นพบ

  • อักษรจารึก วัดพระยืน  จังหวัดลำพูน
  • อักษรจารึก วัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์
  • อักษรจารึก วัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์
  • อักษรจารึก ไทยล้านนา เช่น วัดดปราสาท จังหวัดเชียงราย
  • อักษรจารึก ไทยอีสาน เช่น วัดแตนเมือง จังหวัดหนองคาย
  • อักษรจารึก อักษรธรรม เช่น วัดถ้ำสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี

ศิลาจารึก ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต โดยการจารึกบนศิลาจะมีความเที่ยงตรง ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวอักษรได้ เพราะศิลามีความแข็งแรงถึงแม้เวลาจะผ่านไปอาจจะเสื่อมสภาพลงไปบ้างถึงแม้จะแข็งแกร่งคงทนที่สุดก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ ที่ใช้อ้างอิงได้ ซึ่งถือว่ามีคุณค่าเป็นอย่างมาก